ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียน

โรงเรียนของเรา เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ มีนักเรียน 453 คน อายุระหว่าง 3 – 16 ปีปัจจุบันมีพื้นที่กว่า 6 ไร่ 300 ตารางวา อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เริ่มต้นจากวัดเล็กๆ ในปี พ.ศ. 2479 สู่โรงเรียนประชาบาลในปี 2481 และเติบโตภายใต้เทศบาลนครเชียงใหม่ในปี 2506 กลายเป็นสถานศึกษาคุณภาพที่มีรางวัลมากมาย แต่ท่ามกลางความสำเร็จ เงามืดของน้ำท่วมซ้ำซากในฤดูฝนกลับมาทุกปี ท่วมขังโรงเรียน กระทบทั้งการเรียนและสุขภาพเด็กๆ โควิด-19 ยิ่งซ้ำเติม เด็กเผชิญการสูญเสียโอกาสเรียนรู้จากออนไลน์ที่ไม่สมบูรณ์ ขณะที่ PM 2.5 คุกคามปอดน้อยๆ ของพวกเขา

ปัญหาของเรา คือ การทำกิจกรรมที่กระฉับกระเฉง ผลการสำรวจเดือนมิถุนายน 2567 พบว่า 50% ของนักเรียนเล่นเกมออนไลน์ มากกว่าการเข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ ตลอดเวลา และหลังช่วงการแพร่ระบาดโควิดวิด 19 ที่ผ่านมา ระดับความสามารถด้านทักษะถดถอยลงมา ระดับพฤติกรรมของนักเรียนไม่มีทักษะด้านดนตรี-กีฬา 50% ของนักเรียนไม่ชอบกิจกรรมกระฉับกระเฉง 

ก่อนดำเนินโครงการ ผู้บริหารและคณะครูได้ดำเนินงานโครงการเพื่อพัฒนาสุขภาพทางกายของนักเรียนด้วยการแนะนำจากครูประจำชั้นและครูแนะแนว

ช่วงเริ่มโครงการ เราได้มีการพูดคุยกับครอบครัวของโรงเรียน

- ครู กล่าวว่า โรงเรียนไม่อนุญาตให้นักเรียนนำโทรศัพท์มาซึ่งตามกฎโรงเรียนเราได้กำหนดไว้ว่าห้ามนำโทรศัพท์มือถือมาใช้งานในระหว่างเรียน แต่บางครั้งก็พบว่านักเรียนบางคนยังนำโทรศัพท์มือถือมาใช้ในห้องเรียน ซึ่งอาจทำให้เสียสมาธิในการเรียนรู้ บางครั้งเกมออนไลน์ก็เป็นกิจกรรมที่ทำให้สนุกและได้พัฒนาทักษะบางอย่าง แต่ในขณะเดียวกัน การใช้เวลามากไปกับเกมก็อาจทำให้เราละเลยกิจกรรมอื่นๆ ที่มีประโยชน์ เช่น การออกกำลังกาย หรือการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ

- นักเรียน กล่าวว่า แต่บางครั้งมันก็จำเป็นต้องใช้บ้าง เพราะบางครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็ส่งข้อความมา หรือบางครั้งเราต้องการดูข้อมูลต่างๆ ก็สะดวกดีจริงๆ และเกมสนุกกว่าการเรียนมากเลย บางครั้งเรียนก็รู้สึกเบื่อๆ แต่เล่นเกมมันสนุกดี

- ผู้ปกครอง กล่าวว่า เราก็เข้าใจ ว่าเด็กๆ ต้องการใช้โทรศัพท์มือถือในบางกรณี ตอนนี้ที่บ้านก็กังวลว่าลูกจะใช้เวลามากเกินไปกับเกม บางครั้งก็ต้องมานั่งคุยกับลูกหลายครั้ง














 
ภาพห้องนันทนาการ ก่อนน้ำท่วม



ภาพห้องนันทนาการ หลังน้ำท่วม





ความเสียหายกับอุปกรณ์และครุภัณฑ์กีฬา

 















ภาพผลกระทบที่เกิดขึ้น
นักเรียนเล่นอุปกรณ์กีฬาแล้ว ไม่เก็บ จึงเกิดไอเดีย ขึ้นมาว่า
ควรจัดกิจกรรมตามนักเรียนสนใจ โดยมีนักเรียนเป็นศูนย์กลางเรียนรู้
 และผมในฐานะครูสอนดนตรีล้านนา ปฏิบัติหน้าที่อันสำคัญ คือ ครูผู้สอนวิชาพลศึกษา
สิ่งเดียวต้องปรับ คือ สุภาพและทักษะ รวมถึงเทคนิควิธีการสอนทักษะของครูผู้สอน 
ให้สามารถดึงเต็มศักยภาพของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ครอบคลุมรอบด้าน



การสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในแต่ละวัน 
นักเรียน 20% เล่นอุปกรณ์กีฬาแล้วเก็บ อีก 80% เล่นอุปกรณ์กีฬาแล้วไม่เก็บ




{FullWidth}