โครงการนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

ครูของเรา ใช้สื่อการเรียนรู้จากสิ่งที่มีอยู่ในโรงเรียน นั่นคือ เครื่องดนตรีล้านนา เช่น กลองสะบัดชัยประยุกต์ ฉาบ ฆ้อง และอุปกรณ์กีฬาที่เหลืออยู่จากภัยธรรมชาติ ในการสอน รายวิชาดนตรี และรายวิชาพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 276 คน และเปิดการสอนเพิ่มใน 3 ช่วงเวลา เพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐาน ภาพถ่ายขณะทำกิจกรรม คลิปวิดีโอ โดยจัดกรอบเวลาไว้ คือ ช่วงเช้าก่อนทำกิจกรรมหน้าเสาธง 07.00 – 07.45 น. ช่วงพักกลางวัน 11.30 – 12.30 น. และช่วงหลังเลิกเรียน 16.00 – 16.30 น. 

ระหว่างวันที่ 4 มิถุนายน 2567 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 

โดยมีครูดนตรี 2 คน และนักเรียน 30 คนที่ผ่านกระบวนการตีกลองสะบัดชัยประยุกต์และการแข่งขันกีฬาแต่ละประเภทที่จัดขึ้นในโรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิงเมือง โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้ 

  • ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 4 มิถุนายน 2567 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 มีการประชุมคณะกรรมการโครงการ ครู สถานักเรียน เพื่อกำหนดกรอบเวลา จัดทำหลักสูตร แผนการเรียนการสอน เลือกเครื่องมือดนตรี (เช่น กลองสะบัดชัยประยุกต์) และออกแบบกิจกรรมเสริมทักษะ การจัดเตรียมและฝึกอบรม
  • ระยะที่ 2 ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 - 31 สิงหาคม 2567 จัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ เครื่องมือ พื้นที่ และประสานงานกับชุมชนและเทศบาลเพื่อขอรับการสนับสนุน การเริ่มต้นโครงการ โดยเริ่มจากการแข่งขันกีฬาสีสัมพันธ์ ในภาคเรียนที่ 1 ก่อนเพื่อค้นหาผู้นำในทุกๆ กิจกรรม มาสร้างเป็นนวัตกรของโรงเรียน 
เตรียมวัสดุอุปกรณที่จำเป็นในการดำเนินกิจกรรม

 




เตรียมสนามที่ใช้ในการแข่งขัน


















ออกแบบโปรแกรมการแข่งขัน


  • ระยะที่ 2 ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 - 30 กันยายน 2567  เปิดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีและการเคลื่อนไหว บูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน และประเมินผลเพื่อปรับปรุงกระบวนการ การติดตามและประเมินผล 

ปรับกระบวนการคิดของนักเรียนด้วยเทคนิคปลายกระดานหมากฮอสไทย
เพื่อเชื่อมโยงทักษะกีฬาหมากกระดานไทยสู่กระบวนการเรียนรู้กลองสะบัดชัยประยุกต์






ค้นหาผู้นำสู่การเป็นนวัตกรด้านดนตรีและกีฬาของโรงเรียน





วางกลยุทธ์

 

 

 

 


 

 

เตรียมอุปกรณ์











เปิดโลกแห่งการเรียนรู้ พูดได้ ตีได้














  • ระยะที่ 3 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ประเมินผลสำเร็จของโครงการจากผลการเรียนรู้ของนักเรียน สำรวจความคิดเห็น และจัดกิจกรรมเสริมพัฒนาการ เช่น การแข่งขันกลองสะบัดชัยประยุกต์ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีม ประเมินการมีส่วนร่วมของชุมชนและการสนับสนุนจากเทศบาลนครเชียงใหม่ 


  • ระยะที่ 4 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 จัดทำรายงานผลสำเร็จเชิงปริมาณและคุณภาพ นำเสนอผลการเรียนรู้ของนักเรียนในงานแสดงผลงานของนักเรียน เตรียมจัดทำหลักสูตรรายวิชาดนตรีล้านนาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา หลักสูตรกีฬาและนันทนาการสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น  บูรณาการผลการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมทางการศึกษาของโรงเรียน